• ปรับขนาด
    ตัวอักษร
อีเมล์ :
รหัสผ่าน :
ลืมรหัสผ่าน
เลขที่บัตรประชาชน :
รหัสผ่าน :
เลขที่บัตรประชาชน :
รหัสผ่าน :
ลืมรหัสผ่าน
บริการประชาชน
น้องว่าวควาย
15.36
น้องว่าวควาย
สวัสดีครับ...วันนี้มีอะไรให้ช่วยครับ ถามว่าวควาย มาได้เลย จะรีบไปหาคำตอบให้นะครับ.
15.36
ประวัติความเป็นมาของจังหวัด

เลือกภาษา : 

ประวัติความเป็นมาของจังหวัดสตูลในสมัยก่อนกรุงศรีอยุธยา และในสมัยกรุงศรีอยุธยาไม่ปรากฏหลักฐานกล่าวไว้ ณ ที่ใด สันนิษฐานว่าในสมัยนั้น ไม่มีเมืองสตูล คงมีแต่หมู่บ้านเล็ก ๆ กระจัดกระจายอยู่ตามที่ราบชายฝั่งทะเล

ใน สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ สตูลเป็นเพียงตำบลหนึ่งอยู่ในเขตเมือง ไทรบุรี ฉะนั้นประวัติความเป็นมาของจังหวัดสตูล จึงเกี่ยวข้องกับ เรื่องราวของเมืองไทรบุรี ดังปรากฎในหนังสือพระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๒ ว่า "ตาม เนื้อความที่ปรากฏดังกล่าว มาแล้ว ทำให้เห็นว่าในเวลานั้น พวกเมืองไทรเห็นจะแตกแยกกันเป็น สองพวก คือ พวกเจ้าพระยาไทรปะแงรันพวกหนึ่ง และพวก พระยาอภัยนุราชคงจะนบน้อมฝากตัวกับเมืองนครศรีธรรมราช โดยเฉพาะเมื่อพระยาอภัยนุราชได้มาเป็นผู้ว่าราชการเมืองสตูล ซึ่งเขตแดนติดต่อกับเมืองนครศรีธรรมราช พวกเมืองสตูลคงจะมาฟัง บังคับบัญชาสนิทสนมข้างเมืองนครศรีธรรมราชมากกว่า เมืองไทร แต่พระยาอภัยนุราชว่าราชการเมืองสตูลได้เพียง ๒ ปี ก็ถึงแก่อนิจกรรม ผู้ใดจะได้ว่าราชการเมืองสตูล ต่อมาในชั้นนั้นหาพบจดหมายเหตุไม่ แต่พิเคราะห์ความตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นภายหลัง เข้าใจว่าเชื้อพระวงศ์ ของพระอภัยนุราช (ปัศนู) คงจะได้ว่าราชการเมืองสตูลและฟังบังคับ บัญชาสนิทสนมกับเมืองนครศรีธรรมราช อย่างครั้งพระยาอภัยนุราช หรือยิ่งกว่านั้น"
เมื่อปักปันเขตแดนเสร็จแล้ว ได้มีพระราชโองการโปรดให้เมืองสตูลเป็นเมืองจัตวา รวมอยู่ในมณฑลภูเก็ต เมื่อวันที่ ๖ สิงหาคม ร.ศ.๑๒๘ (พ.ศ. ๒๔๕๓)

ในปีพุทธศักราช ๒๔๗๕ ประเทศไทยเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบ ประชาธิปไตยเมืองสตูลก็มีฐานะยกเป็นจังหวัดหนึ่งอยู่ในราชอาณาจักรไทยสืบต่อมา จนถึง กระทั่งทุกวันนี้
คำว่า "สตูล" มาจากคำภาษามาลายูว่า "สโตย" แปลว่ากระท้อน อันเป็นผลไม้ชนิดหนึ่งที่ขึ้นอยู่ชุกชุมในท้องที่เมืองนี้ ซึ่งต่อมาได้รับการตั้งสมญานามเป็น ภาษามาลายูว่า "นครสโตยมำบังสการา (Negeri Setoi Mumbang Segara)" หรือแปลเป็นภาษาไทยว่า สตูล เมืองแห่งพระสมุทรเทวา ดังนั้น "ตราพระสมุทรเทวา" จึงกลายเป็นตราหรือสัญลักษณ์ของจังหวัดมาตราบเท่าทุกวันนี้

จังหวัด สตูล แม้จะอยู่รวมกับไทรบุรีในระยะเริ่มแรกก็ตาม แต่จังหวัดสตูลก็เป็นจังหวัดที่มีดินแดนรวมอยู่ในประเทศไทยตลอดมา ระยะแรก ๆ จังหวัดสตูล แบ่งเขตการปกครองออกเป็น ๒ อำเภอ กับ ๑ กิ่งอำเภอ คือ อำเภอมำบัง อำเภอทุ่งหว้า และกิ่งอำเภอละงู ซึ่งอยู่ในการปกครองของอำเภอทุ่งหว้า ต่อมาปี พ.ศ. ๒๔๘๒ ได้เปลี่ยนชื่ออำเภอมำบังเป็นอำเภอเมืองสตูล สำหรับอำเภอทุ่งหว้า ซึ่งในสมัยก่อนนั้นเจริญรุ่งเรืองมาก มีเรือกลไฟจากต่างประเทศติดต่อ ไปมาค้าขายและรับส่งสินค้าเป็นประจำ สินค้าสำคัญของอำเภอทุ่งหว้า คือ "พริกไทย" เป็นที่รู้จักเรียกตามกันในหมู่ชาวต่างประเทศว่า "อำเภอสุไหวอุเป" ต่อมาเมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๔๕๗ การปลูกพริกไทยของอำเภอทุ่งหว้าได้ลดปริมาณลง ชาวต่างประเทศที่เข้ามาทำการค้าขายต่างพากันอพยพกลับไปยังต่างประเทศ ราษฎรในท้องที่ก็พากันอพยพไปหาทำเลทำมาหากินในท้องที่อื่นกันมาก โดยเฉพาะได้ย้ายไปตั้งหลักแหล่งที่กิ่งอำเภอละงูมากขึ้น ทำให้ท้องที่กิ่งอำเภอละงูเจริญขึ้น อย่างรวมเร็ว และในทางกลับกัน ทำให้อำเภอทุ่งหว้าซบเซาลง

ครั้ง ถึง พ.ศ. ๒๔๗๓ ทางราชการพิจารณาเห็นว่ากิ่งอำเภอละงูเจริญขึ้น มีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่นกว่า อำเภอทุ่งหว้า จึงได้ประกาศยกฐานกิ่งอำเภอละงูเป็นอำเภอ เรียกว่า อำเภอละงู และยุบอำเภอทุ่งหว้าเดิมเป็นกิ่ง อำเภอทุ่งหว้า เรียกว่า กิ่งอำเภอทุ่งหว้า ขึ้นอยู่ในการปกครองของอำเภอละงู ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๑๖ กิ่งอำเภอทุ่งหว้าจึงได้รับสถานะเดิมกลับคืนมาเป็นอำเภอทุ่งหว้า

ปัจจุบันจังหวัดสตูล แบ่งการปกครองออกเป็น ๗ อำเภอ คือ ๑. อำเภอเมืองสตูล ๒. อำเภอละงู ๓. อำเภอควนกาหลง ๔. อำเภอทุ่งหว้า ๕. อำเภอควนโดน ๖. อำเภอท่าแพ ๗. อำเภอมะนัง
The trace of Satun province's history did not exist prior and during the Ayutthaya era. It is assumed that the city of Satun did not exist in that era, resumable only small villages scattered along the coastal plain.

In the early Rattanakosin era, Satun is only one district in the city of Kedah, therefore, the history of Satun province is related to the background of the city of Kedah. As appeared in the royal Rattanakosin chronicle of King Rama II: "According to the existing contents, it appears that during that era, the city of Kedah seemed to be divided into two groups; those of Chao Praya Sai Pangae's people and those of Praya Apaianurat, who might have bowed to the city of Nakhon Si Thammarat. Especially when Praya Apaianurat took the position of governing the city of Satun, where its boarders are connected to Nakhon Si Thammarat, those people of Satun might have been more connected with those of Nakhon Si Thammarat than of city of Kedah, but Praya Apaianurat governed the city of Satun for only 2 years before he passed away. The record of the successor for his position of governing the city of Satun was nowhere to be found, however, considered the followed occurrences, the royal family of Praya Apaianurat (Passanu) might have governed the city of Satun and obeyed with intimacy with the city of Nakhon Si Thammarat, just like in the era of Praya Apaianurat, or even more."
The story of the city of Satun also appears in the city chronicle of Songkhla, where the name of the governor of Satun city recorded was however different than of that in the royal Rattanakosin chronicle of King Rama III. The History of Satun regarding the formation of the governance, under the monarchy of the province in 1897, he graciously ordered to keep the city of Kedah, Perlis and the city of Satun as cities of sanctuary called "the County of Kedah". He graciously promoted Chao Praya Saiburi Rammaphakdee, Chao Praya Saiburee (Abdul Hamit), to the civil servant of Kedah city. The city of Satun is completely separated from the city according to the Thai and English treaties on the delimitation of the Tahi-Malaya border, which was signed in Bangkok on March 10, 127 AD (B.E. 2452). This agreement puts Kedah and Perlis under the reign of England, and Satun remained under the reign of Thailand until today.
After the border demarcation was completed, he had the royal announcement to include the city of Satun as a commodore in the county of Phuket on August 6, AD 128 (1910).

In 1932, Thailand changed its regiment into democracy, hence the city of Satun was promoted on of the provinces in the Kingdom of Thailand from then onward.

The word "Satun" originated from the Malayan "Stoy", means Santol, a type of fruit grown widely in the area of this city, which was later codenamed in Malayan as "Negeri Setoi Mumbang Segara" or translated into Thai as "Satun, the city of the ocean". So, the "seal of the sea" has become the seal or symbol of the province until today.
Even in conjunction with Kedah at the beginning, Satun has always been a province included in Thailand. At the beginning, Satun was divided into 2 districts with 1 sub-district; Mumbung district, Thung Wa district and the sub-district of Langoo district, which are under the government of Thung Wa district. Later in 1939, the name of Mumbung district was changed to Muang district of Satun. As for Thung Wa district, a very prosperous in the past, many steamboats from overseas arrived to trade goods regularly. The main goods of Thung Wa district was "pepper", known among the foreigners as "Suu Kyi district". Later, in about 1914, the pepper cultivation of Thung Wa district was reduced. The foreigners, who came to trade, migrate back to their countries. The people in the area were also migrating to other places to find a place to make a living, in particular the Lagnoo sub-district, hence the rapid growth of the Lagnoo sub-district and in the contrary, Thung Wa district became quiet. Up until 1930, the government considered that the Lagnoo sub-district was well developed, with more density of population than Thung Wa sub-district, this sub-district thus has been declared to be a district of Lagnoo, called the Lagnoo district and the Thung Wa district became a sub-district of Thung Wa, called Thung Wa sub-district, under the governance of Lagnoo district. Later, in year 1973, the sub-district of Thung Wa was restored to the status of the district of Thung Wa.

Currently, Satun province is divided into 7 districts as follows:
1. Muang District of Satun 2. Lagnoo District 3. Kuan Kalong District 4. Thung Wa District 5. Kuan Dohn District 6. Tha Pae District 7. Manung District
大城时代以前 及大城时代的沙敦历史,没有在任何地方找到证据,猜想,当时没有沙敦城,只有小小的村庄分散于海岸平地。

于拉达那哥欣王国初期, 沙敦只是属于Saiburi城的一个乡,沙敦府的历史因此与Saiburi城有关系,如所见于拉玛二世,皇家历史记载说"如以上所述,可以看到,Sai城的人分成2 群不相投合的人,即Zaopayasaibange 一群,及Payaapainurach一群之比较倾向于那空是贪玛叻城,尤其当Payaapainurach来做沙敦城的城长,其边界与那空是贪玛叻城相邻接,对于Sai城来讲,沙敦城的人会比较倾向与那空是贪玛叻城和好,但Payaapainurach做沙敦城的城长不到两年就去世,谁是接替做城长,历史书里没有记载,但根据以后所发生的事做分析,了解到由Payaapainurach的后裔做沙敦城的城长,并比以前与那空是贪玛叻城比以前更亲近"
有关沙敦城的事,还出现于宋卡城的历史记载书,但某些有关沙敦城城长名字的文句,与拉玛三世皇家历史记载不同;沙敦城历史有关城的管理方式,依照分区管理制度,于1897 年陛下命令让Saiburi城,Perlis 城及沙敦城属于同一管制区,称为"Saiburi府" ,并派Jaopayasaiburirampakdi Jaopayasaiburi(Amdulhamit) 为Saiburi府府长;沙敦城从Saiburi 城分割出来,则依照泰国与英国合约有关泰国和马来西亚的分界,在曼谷签约于1909 年3 月10 日,此合约导致Saiburi城,Perlis 城归属于英国,而沙敦城归属于泰国直到现在。
在分边界好后,陛下命令让沙敦城为三级城,包括在普吉府里,于1910 年8月6 日。

于1932 年,泰国改成民主制度,沙敦城被提升为省府,属于泰国的一个省府,直到现在。

"沙敦" 为马来西亚语 "Satoi",意思是山陀儿,是一种在当地生长很多的水果,后来被取名马来西亚语为" Negeri Setoi Mumbang Segara" ,翻译成泰文为"沙敦" 意思是海神之城,因此"海神"的标志即成为沙敦府的徽章直到现在。

沙敦府虽然一开始与Saiburi包括在一起,但沙敦府的边界仍一直包括在泰国里,在初期,沙敦府的管理制度分为2 个县,及1 个附属县,即Mambang县, Tungwa县,即 Langu附属县之属于Tungwa县的管理范围,后来Mambang县改名为蒙沙敦县,至于Tungwa县,当时非常繁荣,因为时常有外国商船来做生意,Tungwa县的主要货品为"胡椒", 外国人以" Sungaiupe县"的名称所认识,后来约于1914 年,Tungwa县胡椒种植量开始减少,进来做生意的外国人渐渐迁移回去,当地的人民也迁移到其他地方谋生,尤其迁移到Langu附属县的人很多,使之很快的发展,相反的Tungwa县渐渐萧条,于1930 年政府认为Langu附属县开始发展,其人口比Tungwa县多,因此提升Langu附属县为Langu县,及降级原来的Tungwa县,成为Tungwa附属县,并属于Langu县的管理范围,后来于1973 年,Tungwa附属县又再度恢复为Tungwa县。

现在沙敦府分为7 个县即 1. 蒙沙敦县 2. Langu县 3. Kuankalong县 4. Tungwa县 5.Kuandon县 6. Thapae县 7. Manang县