ลักษณะ ภูมิประเทศ สภาพภูมิอากาศ ทรัพยากรธรรมชาติ ศาสนา ความเชื่อและสภาพสังคม ล้วนเป็นตัวกำหนดวิถีชีวิตของบุคคลในท้องถิ่น โดยเห็นได้จากวิถีชีวิตของชาวสตูลที่มีการประกอบอาชีพประมงเนื่องจากจังหวัด สตูลมีชายฝั่งทะเลที่อุดมสมบูรณ์ด้วยสัตว์น้ำ มีการทำหัตถกรรมพื้นบ้านด้วยวัตถุดิบจากธรรมชาติที่มีป่าไม้และทรัพยากรมาก มาย ลักษณะบ้านเรือนผสมผสานแบบบ้านเรือนท้องถิ่นภาคใต้และไทยมุสลิม และความเป็นอยู่ของชาวเลที่เป็นคนท้องถิ่นสตูลกลุ่มหนึ่งที่มีความเชื่อเป็น ของตนเอง การทำประมงของชาวสตูล จังหวัด สตูลมีพื้นที่ชายฝั่งยาว 144.80 กิโลเมตร มีพื้นที่ทำการประมงประมาณ 434 ตารามกิโลเมตร ระชากรประกอบอาชีพประมงประมาณ 4,675 ครัวเรือน ชาวประมงเหล่านี้ได้ประดิษฐ์เครื่องมือเพื่อใช้สำหรับประกอบอาชีพอันแสดงให้ เห็นถึงภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างชัดเจน ได้แก่
เบ็ด เป็นเครื่องมือจับปลาชนิดหนึ่ง มีหลายลักษณะได้แก่ เบ็ดราว มีเชือกขึงติดกับเสาทั้งสองด้านหรือมีเสาด้านเดียว โดยมีเบ็ดผูกไว้เป็นช่วงสั้น ๆ จนหมดสายเชือก และมีเหยื่อเกี่ยวไว้ที่ตัวเบ็ดทิ้งไว้ 6 – 12 ชั่วโมงจึงไปกู้หรือเก็บปลาที่ติดเบ็ด เบ็ดทง เป็นชื่อเรียกอุปกรณ์จับปลาชนิดหนึ่ง โดยใช้ไม้ไผ่เหลาเป็นคันเบ็ดมีเชือกและตัวเบ็ดผูกไว้ปลายเบ็ด ซึ่งสามารถไหวตัวอ่อนไปมาได้ใช้จับปลาได้ทั้งน้ำจืดและน้ำเค็ม เหยื่อที่ใช้ คือ ลูกปลาหรือปลาหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ปุนปน (กิ้งกือ) ปลาหมึก ไส้เดือน กบ เขียด ฯลฯ เบ็ดซัดประกอบ ด้วยตัวเบ็ดซึ่งผูกติดกับเชือกเอ็น ยาวประมาณ 30 – 50 เมตร วิธีการใช้ นำเหยื่อมาเกี่ยวกับตัวเบ็ดและขว้างลงไปในแม่น้ำลำคลอง โดยใช้ปลายเชือกผูกติดกับกับหลักหรือเสา ส้อน เป็นเครื่องมือดักสัตว์น้ำ มีลักษณะทำจากซี่ไม้ไผ่ หรือทางกะพ้อ หรือทางจาก ยึดด้วยเชือกหรือหวายเป็นทรงกระบอก รูปทรงคล้ายไซ แต่ขนาดเล็กกว่า และใช้ดักปลาตรงที่มีน้ำไหล เช่น คู หรือร่องน้ำหรือบริเวณคันนา โป๊ะ เป็นการจับปลาอีกวิธีหนึ่ง โดยใช้ไม้ไผ่กั้นเป็นคอก เปิดช่องทางให้ปลาไหลเข้าไปแล้วใช้อวนดัก เป็นวิธีการที่อาศัยธรรมชาติของลม เมื่อลมพัดทำให้เกิดคลื่น คลื่นทำให้ไม้ไผ่ที่ปักไว้เป็นคอกดักปลานั้นเกิดการสั่นไหว ปลาเห็นแสงและเงาของไม้ไผ่เกิดความกลัวและหลงกล จึงว่ายไปตามช่องทางของโป๊ะที่เปิดไว้ ปลาก็จะเข้าไปติดอวน การสังเกตธรรมชาติทำให้มนุษย์เกิดภูมิปัญญาใช้ประโยชน์ในการประกอบอาชีพอีก วิธีหนึ่ง นอกจากนี้ชาวประมงในจังหวัดสตูลยังได้มีการพัฒนาวิธีการเลี้ยงปลาในกระชัง ซึ่งนับเป็นแนวทางที่สร้างรายได้แก่ชาวประมงอีกทางหนึ่ง การทำภาชนะดินเผาที่อำเภอควนโดน การ ทำภาชนะดินเผา ที่กลุ่มเครื่องปั้นดินเผา เลขที่ 9 ถ. วิเศษมยุรา อ. เมือง จ. สตูล มีขั้นตอน และ วิธีการทำภาชนะดินเผา ตั้งแต่ การนวด ดิน การตีดินเพื่อขึ้นรูป และการปั้นตกแต่งดินให้ได้รูปภาชนะตามต้องการ รวมทั้งเครื่องมือที่ใช้ ในการทำภาชนะดินเผา เป็นโครงการ 1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์ มีการส่งขายต่างประเทศด้วย
การทำฝาขัดแตะ ฝาขัดแตะ เป็นหัตถกรรมพื้นบ้านที่ได้รับเข้าเป็นโครงการ 1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์ ที่ “บ้านค่ายรวมมิตร” อ. ควนกาหลง การทำฝาขัดแตะจัดเป็นการจักสานที่ต้องอาศัยความประณีตบรรจง เพราะนอกจากจะเป็นเรื่องของความแข็งแรงทนทานแล้ว ยังต้องคำนึงถึงความสวยงามอีกด้วย วัสดุที่สำคัญ คือ ไม้ไผ่ ไม้ไผ่ที่นิยมกันมากคือ ไม้ไผ่ผาก มีลักษณะลำต้นสูง สีเขียวไม่มีหนาม ลำต้นโตที่สุดมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 5 นิ้ว การทำซี่ไม้ไผ่ นำไม้ไผ่ที่เตรียมมาผ่าเป็นซี่ ๆ ขนาดประมาณ 2 ซม. ไม้ไผ่ 1 ท่อน จะผ่าออกได้ 12 ซี่ วิธีผ่าใช้เครื่องมือสำหรับผ่าไม้ไผ่ เรียกว่า “จำปา”มีลักษณะเป็นรูปกลมเรียงใบมีดเป็นยอดแหลมเหมือนกรวย ระยะของใบมีดมีความกว้างกำหนดไว้ตายตัวคือ ประมาณ 2 ซม. ตามขนาดที่ต้องการหลังจากนั้นนำไม้ไผ่มาเหลาข้อออกและผ่าออกเป็น 2 ซีก ด้านที่อยู่ข้างนอกติดผิวมันมีความแข็งแรงและสวยงาม เรียกว่า “หลังไม้ไผ่” ส่วนซีกที่อยู่ด้านในเรียกว่า “หน้าไม้ไผ่” เวลาสานต้องนำทั้ง 2 ส่วนมาสลับกันจะเห็นลายชัดเจนมาก การสาน เมื่อ เตรียมวัสดุพร้อมแล้วผู้สานต้องอาศัยความรู้ และความชำนาญ ในการเลือก “ลาย” และการสาน จึงจะได้งานที่มีความแข็งแรงสวยงาม ลายที่เป็นที่นิยมกัน คือ ลายลูกแก้ว และลายปีกเหยี่ยว เพราะมีความสวยงามและคงทนมาก ใช้ทำฝาบ้าน นำไปตกแต่งอาคาร เช่น ผนังห้องประชุม ทำฝ้าเพดาน เป็นต้น การทำฝาไม้ไผ่ในจังหวัดสตูล สามารถทำเป็นอาชีพได้เป็นอย่างดี เพราะนิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย ทั้งภายในจังหวัดสตูล จังหวัดใกล้เคียง และประเทศเพื่อนบ้าน คือ ประเทศ มาเลเซีย และสิงคโปร์